ยุทธศาสตร์
ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
1. ยกระดับคุณภาพผู้เรียนเข้าสู่มาตรฐานสากล
2 .เพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพให้เพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการจัดอาชีวศึกษา
4. เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการให้มีมาตรฐานและคุณภาพโดยใช้หลักธรรมาภิบาล
นโยบายการบริหารจัดการอาชีวศึกษา
มิติที่ 1 การสร้างโอกาสทางการศึกษา
“เรียนฟรีมีงานทำ มีรายได้ระหว่างเรียน”
1.1 พัฒนาศูนย์อบรมอาชีวศึกษา
1.2 เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพจบปวช. ได้ใน 8 เดือน
1.3 จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษา
1.4 จัดตั้งและขยายศูนย์ซ่อมสร้าง เพื่อชุมชนFix It Center
1.5 ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน สนับสนุน OTOP
1.6 ขยายให้มีผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
1.7 ลดการออกกลางคัน
1.8 ขยายโอกาสในการศึกษาด้านอาชีวศึกษาถึงระดับปริญญาตรีสายปฏิบัติการ
1.9 สอนวิชาชีพ เพื่อคนพิการในสถานศึกษา
1.10 สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่อนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.11 จัดอาชีวศึกษาและพัฒนาอาชีพ
สร้างงานสร้างรายได้ในกลุ่มพื้นที่ชายแดนภาคใต้
มิติที่ 2 การพัฒนาคุณภาพ “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน
ปฏิรูปการสอบ ให้ทันกับยุคสมัยอย่างมีคุณภาพ”
ด้านคุณภาพผู้เรียน
2.1 เร่งยกระดับคุณภาพผู้เรียนให้พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
2.2 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3 ปรับปรุงหลักสูตรอาชีวศึกษาทุกระดับ
2.4 ยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยอิงผลการประเมินระดับชาติ (V -
Net) และการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ
2.5 พัฒนาแนวทางการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง
2.6 ร่วมมือกับภาคเอกชน ในการเรียนการสอน และฝึกงานในสถานประกอบการ
2.7 พัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้วยกิจกรรมองค์การวิชาชีพ การบริการสังคม
จิตอาสาและกีฬา
ด้านคุณภาพสถานศึกษา
2.8 พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
2.9 ยกระดับมาตรฐานสถานศึกษา โดยอิงผลการประเมินของ
สมศ.ด้านคุณภาพการเรียนการสอน
2.10 วิจัยปฏิบัติการ
เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ
2.11 ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของผู้เรียนและผู้สอน
2.12 ส่งเสริมนวัตกรรม การจัดการอาชีวศึกษา
- โรงเรียนเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์(Project Based Learning และการประดิษฐ์คิดค้น)
- วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด (Constructionism)
- วิทยาลัยการท่องเที่ยวถลาง
2.13 จัดการเรียนการสอน English Programและ Mini
English Program ด้านอาชีวศึกษา
2.14 นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการเรียนการสอน
ด้านคุณภาพครู
2.15 กำหนดมาตรฐานสมรรถนะครูอาชีวศึกษา
2.16 พัฒนาครู โดยใช้เครือข่าย/สมาคมวิชาชีพ
2.17 พัฒนาระบบนิเทศภายใน
2.18 เร่งยกระดับวิทยฐานะ
มิติที่ 3 การสร้างประสิทธิภาพในด้านการบริหารจัดการ “การบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับเชื่อมั่น
มีเอกภาพ ใช้เทคโนโลยีสนับสนุน”
3.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูล
สนับสนุนการวางแผนและการพัฒนาคุณภาพ
3.2 นำระบบ ICT มาใช้เพื่อการบริหารจัดการ
3.3 บริหารงานบุคคล โดยใช้หลักธรรมาภิบาล
- ดูแลและแก้ปัญหาครูจ้างสอนและใบประกอบวิชาชีพ
- สร้างขวัญ กำลังใจ
และจิตสำนึกในความเป็นเจ้าขององค์กร
3.4 ป้องกันและแก้ปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
3.5 จัดสรรงบประมาณ/ทรัพยากรอย่างเหมาะสม
- ครุภัณฑ์มาตรฐานขั้นพื้นฐาน
- สถานศึกษาขนาดเล็ก
3.6 กระจายอำนาจการบริหารงบประมาณ
มิติที่ 4 ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษา“เพิ่มทักษะวิชาชีพ ด้วยความร่วมมือในและต่างประเทศ”
4.1 จัดตั้งกองทุนอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาและฝึกอบรมวิชาชีพ
4.2 เพิ่มการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีทุกระดับ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
ทั้งในและต่างประเทศ
4.3 ขยายความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในรูปแบบต่างๆ ในการพัฒนานักศึกษา
พัฒนาครูพัฒนาการเรียนการสอน
4.4 ร่วมกับประเทศในอาเซียน พัฒนาคุณภาพการอาชีวศึกษา
การขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และนโยบาย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์
การผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสู่สากล
พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๖๙
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
๑) ด้านการเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพ กำหนดเป้าหมายของการดำเนินงานโดย
๑.๑) รักษาเป้าหมายผู้เรียนในระดับ ปวช. การเพิ่มปริมาณผู้เรียนในระดับ
ปวส.
๑.๒) ลดปัญหาการออกกลางคัน โดยวางเป้าหมายให้ลดลงร้อยละ 5 ด้วยการป้องกัน/ดูแลรายบุคคล
การวิจัยพัฒนา แก้ปัญหารายวิทยาลัย/รายสาขาวิชา การวิเคราะห์แก้ปัญหาเชิงระบบ กลุ่มเป้าหมายใน
50 วิทยาลัยที่มีปัญหาการออกกลางคันสูง
๑.๓) จัดการเรียนการสอนในระดับพื้นที่และภาพรวมตามความต้องการในแต่ละสาขา
๑.๔) เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าเรียนสายอาชีพด้วยระบบโควตา
๑.๕) เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผู้มีส่วนสำคัญต่อการเลือกเรียนอาชีวศึกษาในเชิงรุก
ซึ่งได้แก่ นักเรียน และผู้ปกครอง
๒)
ด้านการขยายโอกาสในการเรียนอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
๒.๑) จัดอาชีวศึกษาครอบคลุมทุกพื้นที่ สาขาอาชีพ
การขยายกลุ่มเป้าหมาย
๒.๒) จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาในรูปแบบกลุ่มจังหวัด
๑๘ กลุ่มจังหวัดและกรุงเทพมหานคร รวม ๑๙ สถาบัน และสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตร ภาคละ
๑ แห่ง จำนวน ๔ แห่ง
๒.๓) จัดตั้งสถานศึกษาอาชีวะอำเภอในกลุ่มอำเภอชั้นหนึ่ง
๒.๔) ส่งเสริมการจัดอาชีวะชายแดนใต้สู่สันติสุข ศูนย์ฝึกอบรมอาชีวะ
อาชีวะสองระบบ และการจัดหลักสูตรอาชีวะท้องถิ่น และสนับสนุนทุนการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส
๒.๕) มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาที่เป็นความต้องการของตลาดแรงงาน
สาขาที่เป็นนโยบายรัฐบาล และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
โดยการจัดอาชีวศึกษาเฉพาะทาง อาทิ ปิโตรเคมี การสร้างเกษตรรุ่นใหม่ ครัวไทยสู่ครัวโลก พลังงานทดแทน
โลจิสติกส์/รถไฟความเร็วสูง อัญมณี ยานยนต์ ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ท่องเที่ยว/โรงแรม ฯลฯ
๒.๖) ขยายกลุ่มเป้าหมายอาชีวะในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
และอาชีวะเพื่อคนพิการ
อาชีวะวัยแรงงาน
อาชีวะสูงวัย อาชีวะเพื่อสตรี อบรมระยะสั้น/ตลาดนัดอาชีพ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน เทียบโอนความรู้และประสบการณ์ เพื่อต่อยอดและพัฒนาทักษะทั้ง Upgrade Skills และ Re Skills ร่วมจัดอาชีวศึกษาในสถานพินิจ เรือนจำ
ค่ายทหาร และ อปท. ฯลฯ
๒.๗) สนับสนุนให้หน่วยงาน/องค์กร
ร่วมจัดอาชีวศึกษาซึ่งได้แก่ สถานประกอบการ อปท. และภาคเอกชนจากสาขาอาชีพต่างๆ ฯลฯ
๒.๘) จัดอาชีวะทางเลือก อาชีวะทายาท วิทยาลัยอาชีวศึกษาฐานวิทยาศาสตร์
อาชีวะอินเตอร์ และอาชีวะเทียบโอนประสบการณ์
๒.๙) เพิ่มช่องทางการเรียนอาชีวศึกษาด้วย อาชีวะทางไกล
และเครือข่ายวิทยุเพื่อการศึกษาและพัฒนาอาชีพ (R-radio network)
๓) ยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษา
๓.๑) ระดับสถานศึกษา และระดับห้องเรียน ส่งเสริมคุณภาพและสร้างความเข้มแข็งในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการจัดอาชีวศึกษาโดย
- พัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง Constructionism,
Project Based Learning Authentic Assessment, การเพิ่มพูนทักษะประสบการณ์จากการเรียนในสถานที่จริง/สถานการณ์จริง
อาทิ Fix It Center และกรณีภัยพิบัติ
- พัฒนาระบบนิเทศ การจัดการความรู้และถ่ายทอดประสบการณ์จากครูรุ่นพี่สู่ครู รุ่นใหม่ (นิเทศภายใน) และการนิเทศทางไกล
- สร้างความเข้มแข็งการประกันคุณภาพภายใน สนับสนุนให้ทุกวิทยาลัย ผ่านการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก
และเตรียมพร้อมรับการประเมินระดับสากล
- ยกระดับคุณภาพสถานศึกษาขนาดเล็ก ให้เป็นตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ตามความต้องการของพื้นที่ และการให้บริการกลุ่มเป้าหมายพิเศษ
อาทิ คนพิการ, วัยทำงาน, สูงวัย, สตรี ฯลฯ
- ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน
สนับสนุนความพร้อมในด้าน Hardware สื่อการเรียนการสอน
ส่งเสริมการประกวดสื่อ/สื่อออนไลน์ และจัดตั้งวิทยาลัยต้นแบบการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน
- พัฒนาครู สร้างเครือข่ายครู Social Media และ Network สนับสนุนให้ครูทำวิจัย
เพื่อพัฒนาคุณภาพ
- จัดหาสื่อ/หนังสือ วัสดุฝึก อุปกรณ์การเรียนการสอน
ที่ทันสมัยและเพียงพอ
๓.๒) ระดับผู้เรียน
ยกระดับความสามารถของผู้เรียนเพื่อให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษา มีขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งสมรรถนะหลัก
(Core
Competency) และสมรรถนะการทำงานตามตำแหน่งหน้าที่ (Function
Competency) โดยใช้ V-NET
การประเมินด้านมาตรฐานวิชาชีพ และ การประเมินระดับห้องเรียน สร้างเสริมทักษะอาชีพในอนาคตด้วยกิจกรรมองค์การวิชาชีพ
ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม วิถีประชาธิปไตย ความมีวินัย เสริมสร้างทักษะชีวิต
ความสามารถด้านนวัตกรรม/สิ่งประดิษฐ์
การเป็นผู้ประกอบการ พัฒนาทักษะการคิดบนพื้นฐาน Competency
Based Technology
Based Green Technology และCreative economy รวมทั้งการแก้ปัญหาด้านพฤติกรรมและการใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
อาทิ สุภาพบุรุษอาชีวะ ลูกเสือ กีฬา และการป้องกัน/แก้ไขการทะเลาะวิวาท
๓.๓)
เตรียมผู้เรียนสู่การเป็นประชาคม ASEAN โดยการเพิ่มจำนวนสถานศึกษา
English
Program (EP) Mini English Program (MEP) ทุกจังหวัด ใช้หลักสูตร/สื่อต่างประเทศ สนับสนุนการฝึกงานต่างประเทศ/บริษัทต่างประเทศและในประเทศ ยกระดับทักษะด้านภาษาอังกฤษในงานอาชีพ ส่งเสริม
การเรียนรู้ภาษาประเทศคู่ค้า จัดระบบ Sister School ทุกประเทศใน
ASEAN
๔) ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
๔.๑) ด้านบริหารทั่วไป ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการได้แก่
Web Portal, E-office และ Data based รวมทั้งการปรับภาพลักษณ์เชิงบวก
๔.๒) ด้านงบประมาณ ใช้แนวทาง Strategic
Performance, Based Budgeting: SPBB และ Formula Funding โดยการจัดงบประมาณตามความจำเป็นพื้นฐาน ความเสมอภาค และตามนโยบาย, การกระจายอำนาจจัดซื้อจัดจ้าง, จัดหางบประมาณค่าสาธารณูปโภคและค่าจ้างครูให้เพียงพอ
๔.๓) ด้านบริหารงานบุคคล
สร้างเครือข่ายครู/สมาคมวิชาชีพ จัดหาลูกจ้าง พนักงานราชการให้เพียงพอ รวมทั้งการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลของสถาบันการอาชีวศึกษา
๔.๔) ด้านการสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อพัฒนา การจัดอาชีวศึกษา ดังนี้
- ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในกลุ่มอาเซียน
- องค์การ/สมาคมวิชาชีพ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้า กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สถานประกอบการ ในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
การฝึกงาน ฯลฯ
- องค์การระหว่างประเทศ
ได้แก่ VOCTECH,
CPSC /APACC, SEARCA และ UNIVOC ฯลฯ
-
ประเทศต่างๆในภูมิภาคของโลก
ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน อิสลาเอล ญี่ปุ่น
เดนมาร์ก เยอรมัน ฯลฯ |