การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

แนวทางในการพิจารณาคุณสมบัติของนักเรียน นักศึกษาที่จะออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

          ข้อควรปฏิบัติในการพิจารณา นักเรียน นักศึกษาทั้งระดับ ปวช. และปวส. ที่จะยื่นคำร้องขอฝึกอาชีพ

ในสถานประกอบการ ดังนี้

          ๑. นักเรียน นักศึกษาจะต้องผ่านการลงทะเบียนในรายวิชาที่จะออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มิฉะนั้นจะไม่พิจารณาให้ออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

          ๒. นักเรียน นักศึกษาจะต้องมีการทำประกันอุบัติเหตุ มิฉะนั้นจะไม่พิจารณาให้ออกฝึกอาชีพ
ใน
สถานประกอบการ

          ๓. นักเรียน นักศึกษาจะต้องมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐

               ๓.๑ ถ้านักเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่า ๒.๐๐ แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ระดับผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละช่วงชั้น คือ ระดับ ปวช. ๑ ผลการเรียนเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า ๑.๕๐ ระดับ ปวช. ๒ ผลการเรียนเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า ๑.๗๕ และระดับ ปวช. ๓ ผลการเรียนเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ ให้พิจารณาข้อ ๕  ประกอบด้วย

               ๓.๒ ถ้านักเรียนมีผลการเรียนเฉลี่ยต่ำกว่า ๒.๐๐ แต่ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ระดับผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละช่วงชั้น คือ ระดับ ปวส. ๑ ผลการเรียนเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า ๑.๗๕ และระดับ ปวส. ๒ ผลการเรียนเฉลี่ยต้องไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐ ให้พิจารณา ข้อ ๕ ประกอบด้วย

               ๓.๓ ถ้านักเรียนมีผลการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ระดับผลการเรียนเฉลี่ยแต่ละช่วงชั้นทั้งระดับ ปวช.
และระดับปวส. จะไม่พิจารณาให้ออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

          ๔. นักเรียน นักศึกษาจะต้องมีผลการเรียนผ่านในรายวิชาชีพพื้นฐาน และวิชาชีพสาขางาน ถ้าไม่ผ่านให้พิจารณาข้อ ๕ ประกอบด้วย

          ๕. นักเรียน นักศึกษาจะต้องมีความประพฤติเรียบร้อย ไม่อยู่ในขณะโดนลงโทษพักการเรียน ไม่ส่อแววสร้างความเสื่อมเสียให้กับทางวิทยาลัย มีความประพฤติเรียบร้อยทั้งด้านความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม การตรงต่อเวลา ผ่านการพิจารณาจากครูที่ปรึกษา หัวหน้าแผนกวิชา หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

          ๖.  มีผลการเรียนผ่านในรายวิชากิจกรรม ถ้ามีผลการเรียนไม่ผ่านในรายวิชากิจกรรมจะไม่พิจารณาให้ออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ

          ๗.  ผ่านการปฐมนิเทศนักเรียน นักศึกษาก่อนฝึกอาชีพในสถานประกอบการ ถ้าไม่ผ่านการปฐมนิเทศจะไม่พิจารณาให้ออกฝึกอาชีพในสถานประกอบการ